เกี่ยวกับ เทศบาล

        ในรัชสมัย  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  แห่งกรุงธนบุรี  ในราวปี  พ.ศ.2321-2322

โปรดให้  สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก  และเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธราช ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ 

เมือได้ชัยชนะแล้ว  ก็ได้กวาดต้อนเอาครอบครัวลาวเวียง  ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองราชบุรี

อันมีหลักฐานปรากฏ  ในพระราชพงศาวดารฯ  แล้ว  โดยส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือยอยู่ที่

ตำบลบ้านสิงห์  อำเภอโพธาราม  จังหวัดราชบุรี  และได้สือเชื้อสายติดต่อกันมาเป็นลำดับ

จนกระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังเป็นที่ปรากฏให้เห็นพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานเท่าที่ยังคงเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้

        สันนิฐานว่า ชาวลาวเวียงที่ถูกกวาดต้อนอพยพมาในครั้งนั้น  มีพื้นเพเดิมเป็นชาว " เมืองสิงห์ "

ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือในประเทศลาว  โดยมีเอกสารหลักฐานปรากฏชัดเจน  ในประวัติศาสตร์ชาติลาว

ว่าชาว "เมืองสิงห์"  ได้ถูกกวาดต้อนให้มาอยู่ที่  เมืองหลวงพระบาง  ก่อนแล้วและต่อมาภายหลังได้ถูก

กวาดต้อนให้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทร์อีกทดหนึ่ง  ด้วยมูลเหตุดังกล่าวครั้งเมื่อถูกกวาดต้อน

ให้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยแล้ว  จึงได้นำเอาชื่อบ้านเมืองเดิมของตน  มาตั้งชื่อชุมชน

ที่มาอยู่ใหม่นี้ว่า "บ้านสิงห์"  เพื่อเป็นการรำลึกถึง  ถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอน  ที่เคยอยู่ดั้งเดิมของตน

ตั้งแต่นั้นสืบมา

คำขวัญเทศบาลตำบลบ้านสิงห์

        วัฒนธรรมลาวเวียง  กุนเชียงเลื่องชื่อ  ล้ำลื่อตุ๊กตา  ศูนย์การค้าเกษตรกรรม

วิสัยทัศน์

        “ เทศบาลตำบลบ้านสิงห์  เป็นตำบลน่าอยู่  ประชาชนมีคุณภาพที่ดี  มีความสมานฉันท์ 

ชุมชนมีความเข้มแข็ง  สามารถพึ่งตนเองได้  มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 

และมีสภาพแวดล้อมที่สะอาดสวยงาม ”

พันธกิจ

        ๑) ปรับปรุงและพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ด้านแหล่งน้ำ

ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

        ๒) จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยชุมชน/ประชาชน

มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

        ๓) ส่งเสริมและสนับสุนนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน

        4) พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสติปัญญาและทัศนคติที่ดีงามและ

มีคุณภาพ

        5) ปรับปรุงและพัฒนาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

        ๖) ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

ลดความซ้ำซ้อน ลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ เพื่อบริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก

รวดเร็วและเป็นธรรม

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 บ้านบางกะโด 237 317 361 678 คน
หมู่ที่ 2 บ้านบางกะโด 486 637 659 1,296 คน
หมู่ที่ 3 บ้านหนองอ้อ 557 715 769 1,484 คน
หมู่ที่ 4 บ้านสิงห์ 683 524 637 1,161 คน
หมู่ที่ 5 บ้านสิงห์ 402 379 429 808 คน
หมู่ที่ 6 บ้านด่าน 708 802 843 1,645 คน
หมู่ที่ 7 บ้านกำแพงเหนือ 280 426 473 899 คน
หมู่ที่ 8 บ้านกำแพงใต้ 314 431 497 928 คน
หมู่ที่ 9 บ้านโรงหีบ 316 456 524 980 คน
หมู่ที่ 10 บ้านน้ำหัก 511 655 716 1,371 คน
หมู่ที่ 11 บ้านดอนโพ 104 144 119 263 คน
หมู่ที่ 12 บ้านทุ่ง 171 232 272 504 คน
ข้อมูลรวม : คน

ลักษณะที่ตั้ง

        เทศบาลตำบลบ้านสิงห์ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอโพธาราม ประมาณ 5 กิโลเมตร มีขนาดพื้นที่

๑๘,๗๓๒.๒๕ ไร่ (๒๙.๙๗ ตารางกิโลเมตร) ตำบลบ้านสิงห์ ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหาร

ส่วนตำบลบ้านสิงห์ เมื่อวันที่ ๒ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ และได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบล

ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๘ เดือน มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๘ มีฐานะเป็นนิติบุคคล

การบริหารงานอย่างมีอิสระและคล่องตัวมากขึ้น เทศบาลตำบลบ้านสิงห์เห็นความสาคัญของการบริหาร

และการพัฒนาท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

        ปัจจุบันสานักงานเทศบาลตำบลบ้านสิงห์ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๒ หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านสิงห์

อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

อาณาเขตติดต่อ

        ทิศเหนือ           ติดต่อกับตำบลบ้านฆ้อง และอำเภอโพธาราม

        ทิศใต้              ติดต่อกับตำบลบ้านไร่ อำเภอดำเนินสะดวก ตำบลสามเรือน

              อำเภอเมืองราชบุรี และตำบลดอนทราย อำเภอโพธาราม

        ทิศตะวันออก     ติดต่อกับวัดแก้ว อำเภอบางแพ

        ทิศตะวันตก       ติดต่อกับตำบลคลองข่อย ตำบลคลองตาคตและตำบลเจ็ดเสมียน

      อำเภอโพธาราม

ภูมิประเทศ

        สภาพพื้นที่ทั่วไปของเทศบาลตำบลบ้านสิงห์ มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่ม เป็นแอ่งกระทะ

ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของแม่น้าแม่กลองและแม่น้ำนครชัยศรี พื้นที่มีลักษณะลาดเทเล็กน้อย ดินส่วนใหญ่

เป็นดินเหนียวเหมาะสาหรับการทำนา ทำไร่ไม้ผล ไม้ยืนต้น ตำบลบ้านสิงห์อยู่ในเขตชลประทาน

โครงการส่งน้ำและบำรุงราชบุรีฝั่งซ้าย มีคลองส่งน้ำและบำรุงรักษาราชบุรีฝั่งซ้าย มีคลองส่งน้ำจำนวน

4 เส้น มีคลองธรรมชาติ และคลองเล็ก ๆ จานวนมาก ทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้ตลอดปี

        เทศบาลตำบลบ้านสิงห์ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอโพธาราม ประมาณ 5 กิโลเมตร มีขนาดพื้นที่

๑๘,๗๓๒.๒๕ ไร่ (๒๙.๙๗ ตารางกิโลเมตร) ตำบลบ้านสิงห์ ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหาร

ส่วนตำบลบ้านสิงห์ เมื่อวันที่ ๒ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ และได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบล

ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๘ เดือน มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๘ มีฐานะเป็นนิติบุคคล

การเมืองและการบริหาร

        สภาเทศบาล  ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติและควบคุมฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย สมาชิกสภา-

เทศบาล ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านสิงห์ จำนวน 12 คน

อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

        นายกเทศมนตรี  มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านสิงห์

มีรองนายกเทศมนตรี จานวน 2 คน ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี จานวน 1 คน เลขานุการนายกเทศมนตรี

จำนวน 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของนายกเทศมนตรี โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงาน-

ประจำ

เขตการปกครอง

        เทศบาลตำบลบ้านสิงห์ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านบางกะโด มีพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสิ้น 898 ไร่

หมู่ที่ 2 บ้านบางกะโด มีพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสิ้น 1,315 ไร่

หมู่ที่ 3 บ้านหนองอ้อ มีพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสิ้น 950 ไร่

หมู่ที่ 4 บ้านสิงห์ มีพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสิ้น 820 ไร่

หมู่ที่ 5 บ้านสิงห์ มีพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสิ้น 850 ไร่

หมู่ที่ 6 บ้านด่าน มีพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสิ้น 1,100 ไร่

หมู่ที่ 7 บ้านกำแพงเหนือ มีพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสิ้น 1,200 ไร่

หมู่ที 8 บ้านกำแพงใต้ มีพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสิ้น 740 ไร่

หมู่ที่ 9 บ้านโรงหีบ มีพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสิ้น 870 ไร่

หมู่ที่ 10 บ้านนาหัก มีพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสิ้น 980 ไร่

หมู่ที่ 11 บ้านดอนโพ มีพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสิ้น 830 ไร่

หมู่ที่ 12 บ้านทุ่ง มีพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสิ้น 615 ไร่

ด้านเศรษฐกิจ

        ประชากรในเขตเทศบาลตำบลบ้านสิงห์ ประกอบอาชีพแตกต่างกันไป ตามสภาพพื้นที่ในแต่ละหมู่

ซึ่งโดยทั่วๆไป ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก และ

มีการรวมกลุ่มประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน ทำตุ๊กตาผ้าส่งออกจำหน่าย และเปิดร้านจำหน่าย

ในเขตตำบลบ้านสิงห์

การอุตสาหกรรม

        ปั๊มน้ำมัน 2 แห่ง ปั๊มลอย 1 แห่ง

        โรงสี ขนาดใหญ่ 1 แห่ง ขนาดย่อม 1 แห่ง

        โรงงานผลิตแอสฟัลท์ติก 1 แห่ง

        ตลาดสด (ประจำ) “ ตลาดนัดเกษตรกรตำบลบ้านสิงห์(ตลาดนัดคลองหมาเน่า) ” 1 แห่ง

 

การศึกษา

        เทศบาลตำบลบ้านสิงห์ มีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

จำนวน 4 แห่ง ดังนี้


โรงเรียน

สังกัด

ตั้งอยู่ 
หมู่ที่

เปิดสอนระดับ

จำนวนครู

จำนวน 
นักเรียน

 1.โรงเรียนอนุบาลโพธาราม

สปช.

4

อนุบาล-ม.3

46

826

 2.โรงเรียนวัดบางกะโด

สปช.

1

อนุบาล-ป.6

13

123

 3.โรงเรียนวัดหนองอ้อ

สปช.

3

อนุบาล-ป.6

12

124

 4.โรงเรียนวัดกำแพงใต้

สปช.

8

อนุบาล-ป.6

14

159

 

        โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จานวน 1 แห่ง คือโรงเรียนอนุบาลโพธาราม ในด้านการศึกษานั้น

เทศบาลตำบลบ้านสิงห์ได้สนับสนุนเพื่อให้เด็กได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ตลอดจนด้านคุณธรรม

และจริยธรรม และส่งเสริมการศึกษาทางด้านสันทนาการให้เด็กมีการพัฒนาการทางด้านสุขภาพ -

พลานามัยที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อตนเองและประเทศชาติเป็นที่ปรารถนาของผู้ปกครอง

        เทศบาลตำบลบ้านสิงห์ มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลบ้านสิงห์ จานวน 4 ศูนย์ ดังนี้

        1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านสิงห์

        2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางกะโด

        3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองอ้อ

        4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนกาพงใต้

ศาสนาและวัฒนธรรม

       เทศบาลตำบลบ้านสิงห์ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดในพระพุทธศาสนา 6 แห่ง

ดังนี้

ชื่อวัด

ตั้งอยู่หมู่ที่

จำนวนภิกษุ

จำนวนสามเณร

 1. วัดบ้านสิงห์

4

15

-

 2. วัดบางกะโด

1

12

-

 3. วัดกำแพงเหนือ

7

12

-

 4. วัดกำแพงใต้

9

17

-

 5. วัดหนองอ้อ

3

8

-

 6. สำนักสงฆ์ฟื้นธรรมสถาพร

6

5

-

 

        ขนบธรรมเนียมที่สาคัญ ได้แก่ ประเพณีแห่ดอกไม้ลาวเวียง

 

การบริการพื้นที่

        เทศบาลตำบลบ้านสิงห์ มีกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในหมู่ที่ 4 บ้านสิงห์ หมู่ที่ 5

บ้านสิงห์ หมู่ที่ 6 บ้านด่าน หมู่ที่ 7 บ้านกำแพง หมู่ที่ 9 บ้านโรงหีบ หมู่ที่ 10 บ้านน้ำหัก หมู่ที่ 11

บ้านดอนโพโดยให้ความสนใจในการทำกิจกรรมปุ๋ยหมัก  สร้างเตาเผาขยะ  การปรับปรุงคุณภาพน้ำ

ในคลองการขุดลอกคลอง  และปลูกต้นไม้ริมคลอง  ทำให้ชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ร่มรื่นและ

ประชาชนมีสุขภาพทางกายและจิตใจที่ดี  ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากไม่ได้มีการป้องกันและแก้ไขในอนาคต  

ย่อมทำให้ชุมชนที่มีสภาพน่าอยู่  กลายเป็นชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าอยู่  ประชาชนจะ

มีสุขภาพไม่ดี  เทศบาลตำบลบ้านสิงห์  จะต้องเร่งดำเนินการดูแลท้องถิ่นให้มีความอยู่ดีกินดี  

สภาพแวดล้อมดี โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการรักษาความสะอาดสถานที่และอื่น ๆ

ที่เกี่ยวกับการจัดการสภาพแวดล้อมชุมชน

การสาธารณสุข

        เทศบาลตำบลบ้านสิงห์  มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 2 แห่ง คือ

        โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ้านสิงห์และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล -

บ้านบางกะโด  การสาธารณสุขไม่ค่อยมีปัญหามากนัก  เพราะเทศบาลตำบลบ้านสิงห์ได้พยายาม

ที่จะพัฒนาในด้านนี้อย่างดีที่สุด

 

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สภาพภูมิอากาศ

        เทศบาลตำบลบ้านสิงห์  ตั้งอยู่ในเขตอำเภอโพธาราม  ซึ่งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อน

เฉพาะฤดู กล่าวคือ อากาศจะแห้งแล้งในช่วงฤดูหนาวมีฝนตกชุกและความชื้นในอากาศสูงในช่วงฤดูฝน

สรุปได้ว่าลักษณะภูมิอากาศในพื้นที่แบ่งออกเป็นลักษณะภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออก-

เฉียงเหนือทำให้อากาศหนาวเย็น  และลักษณะภูมิอากาศที่ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

ทำให้มีฝนตกชุกและมีอากาศชื้นสูง แบ่งออกได้ 3 ฤดูกาล

        - ฤดูร้อน  เริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคม  ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุม

ตะวันออกเฉียงเหนือสิ้นสุดลง  และฝ่ายใต้พัดมาปกคลุมพื้นที่แทน  ทำให้อากาศมีความร้อนอบอ้าว

โดยทั่วไปและร้อนจัดในเดือนเมษายน

        - ฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม  เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

พัดปกคลุมพื้นที่ทำให้ฝนตกในช่วงเวลาดังกล่าว  โดยฝนตกชุกมากที่สุดในเดือนกันยายน – ตุลาคม

        - ฤดูหนาว  เริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายน – กลางเดือนกุมภาพันธ์  ซึ่งเกิดจากลมมรสุม

ตะวันออกเฉียงเหนือ  และความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่มากปกคลุมพื้นที่ ทำให้อากาศ

มีความหนาวเย็นและแห้งแล้ง เนื่องจากพื้นที่จังหวัดราชบุรีติดต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่บางส่วน

เป็นทิวเขาแนวยาวกั้นชายแดน ทาให้อุณหภูมิค่อนข้างสูง มีอากาศร้อนอบอ้าวมากในช่วงฤดูร้อน

น้ำเสีย

        น้ำเสียที่เกิดขึ้นในเขตเทศบาลส่วนใหญ่  เป็นน้ำเสียจากครัวเรือนที่พักอาศัย  และบางส่วนจาก

สถานประกอบการ  เช่น  โรงงานผลิตน้าแข็ง  ฟาร์มเลี้ยงสัตว์  เป็นต้น